รีวิว Fight Club ของ ผู้กำกับมือทองเดวิด ฟินเชอร์ คือหนังที่นับว่าดีที่สุดเท้่้าที่เคยมีมาในยุคนี้สำหรับผม ให้ขึ้นแท่นไปเลยครับ อีกทั้งยังมีคำพูดเท่ๆติดปากโจ๋วัยรุ่นในขณะนั้น ที่มักจะชวนเพื่อนๆ มาพูดคุยกันถึง คือ กฎข้อแรกคือห้ามพูดถึง Fight Club โอโห้ แสดง ความดิบ เถื่อน เท่ สะใจ จนอยากลุกขึ้นมาชกหน้าเพื่อนข้างๆแล้วบอกว่านี่คือการระบายอารมณ์ การรวมกลุ่มบำบัดที่ทำให้เราปนระหลาดใจ การทำระเบิดจากสบู่ การเฉลยตอนจบ และประเด็นที่หนังพยายามวิพากษ์วิจารณ์การต่อต้านระบบทุนนิยมและวัตถุนิยมได้อย่างรุนแรงและน่าสนใจ
ผู้กำกับ David Fincher
นักแสดง : Brad Pitt, Edward Norton, Helena Bonham Carter, Meat Loaf
ทุนสร้าง 63 ล้านเหรียญ Box Office 100.9 ล้านเหรียญ
ความยาว 139 นาที
รับขมได้ที่ ดูหนังออนไลน์
เท่าที่พอจำได้ หลายๆคนน่าจะขุดหนังเรื่องนี้กลับมาดูซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งทุกครั้งก็จะให้ความรู้สึกที่ดีไม่ต่างจากเดิม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำไมคนถึงหยิบหนังเรื่องนี้มาดูซ้ำๆ เพื่อตอกย้ำและปลอบใจชีวิตที่แสนจำเจของตัวเอง นับเป็นการออกแบบเนื้อเรื่องที่สร้างเป้นบทตำนานตลอดกาลเลยทีเดียวเชียว
เป็นหนังที่โคตรเท่ โคตรตึง โคตรอันตราย บาดตาบาดใจ ไม่แปลกที่ทำไมถึงมีแฟนคลับหลงรักหนัง Fight Club มากมายขนาดนี้
ในช่วงแรกที่หนังเข้าฉาย มีปัญหาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นล้มเหลวของทีมงานฝ่ายการตลาดที่ไม่อาจทำให้คนเข้าใจความหมายที่หนังพยายามจะสื่อออกมาทั้งหมด เลยมีกระแสต่อต้านออกมาบ้าง จนเสียงของคนดูแตกออกเป็นสองฝ่ายที่ถ้าไม่รักก็เกลียด Fight Club ไปเลย และแน่นอนครับว่าผมอยู่ฝ่ายกองกำลังสายอวยหนังเรื่องนี้เต็มกำลังครับ บ่อยครั้งก็นึกสงสัยว่าทำไมถึงมีคนเกลียดหนังเรื่องนี้ได้
หนังจะเล่าถึงชายคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตวนลูปไปกับการทำงานซ้ำแล้วซ้ำเล่า พร้อมกับอาการนอนไม่หลับหลายเดือนที่ทำให้ชีวิตเขาดูซอมซ่อเต็มที วันนึงเขามีโอกาสได้รู้จักกับ ‘ไทเลอร์’ ผู้ทำให้เขาได้พบ ‘FIGHT CLUB’ และนั่นจะเปลี่ยนชีวิตเขาไปตลอดกาล
ต้องชื่นชมทั้งผู้กำกับและคนเขียนบทเลยครับในส่วนนี้ไม่รู้ว่าพวกแกคิดอะไรกันอยู่ ถึงได้สร้างความ เถื่อน ดิบ นี่ออกมาเป็นหนังให้เราดูได้ เพราะทุกอย่างในหนังมันเท่ไปหมด มันเป็นความเท่แบบอันตราย ที่น่ามอง ไม่ว่าจะเป็นโทนสี ภาพ มุมกล้อง การเล่าเรื่อง หรือแม้แต่บทที่ออกมาจากปากของตัวละคร ทุกอย่างมันลงตัวจนเหมือนหนังเองได้สร้าง ‘ความเป็น fight club’ ในตัวเองขึ้นมา โควทแปลกๆ อย่าง ‘กฏข้อแรกคือห้ามพูดถึงไฟต์คลับ’ ซึ่งเป็นวลีตลอดการที่ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหนเราก็มักจะเห้นคำพูดนี้วนเวียนมาในชีวิตประจำวันบ่อยครั้ง
ย้อนกลับมาถ้ามทองอีกมุมและถอยตัวเองออกมานิดหน่อย เราจึงได้เห็นมุมมองบางอย่างว่ายังมีคนอีกมากมายที่ยอมรับระบบทุนนิยมและมีความสุขที่ได้หา วัตถุ ต่างๆ มาปรนเปรอตัวเอง แล้วจะแปลกอะไรถ้าคนเหล่านั้นจะรู้สึกไม่ชอบการที่หนังพยายามนำเสนออีกด้านหนึ่งที่พวกเขาไม่อยากรับรู้ จะผิดอะไรถ้าหลายคนจะมองเห็นว่าเมื่อระบบทุนนิยมเปิดโอกาสให้แข่งขัน ก็ควรจะสู้ตามกลไกของตลาดให้สมศักดิ์ศรีและถีบตัวเองให้สูงที่สุด ตอบสนองความทะเยอทะยานแล้วใช้ชีวิตอยู่ด้านบนอย่างมีความสุข
แต่ก็ไม่ผิดอีกเช่นกันที่อีกหลายคนจะมองว่าโลกของทุนนิยมที่บอกว่าเป็นการแข่งขันเสรี แท้จริงแล้วเป็นเพียง ‘เสรีภาพ’ ของคนที่ถูกรับเลือกให้เข้าแข่งขัน ส่วนที่เหลือเป็นได้เพียงแค่ เครื่องมือที่มใช้ขับเคลื่อนในสายพานการผลิตที่ไม่มีวันเติบโต
ในเมื่อพวกเขาไม่สามารถต่อสู้เพื่อยืนยันตัวตนได้ในสนามที่หลายคนบอกว่าปกติ จะมีก็แต่สนาม Fight Club ใต้ดินที่สู้กันด้วยหมัด ฟันหัก เลือดสาด สมองสั่น ที่จะช่วยยืนยันได้ว่าพวกเขามีชีวิต มีเลือดเนื้อ มีความหวังหลงเหลืออยู่ตรงนี้จริงๆ แบบจับต้องได้
แต่เมื่อกลับไปใช้ชีวิตขาวสะอาดตามปกติ ถ้าไม่นับการเอาความลับไปขู่เจ้านายเพื่อที่จะเอาเงินเดือนของพระเอก การฉีดน้ำใส่คนที่ไม่รู้เรื่องราวและไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง การทำลายข้าวของ ลักเล็กขโมยน้อย การได้กลั่นแกล้ง หัวเราะเยาะ มองคนด้านบนด้วยสายตาเย้ยหยันได้เป็นครั้งแรกในชีวิต ฯลฯ
พวกเขาก็ยังได้แต่ใช้ชีวิตแบบไม่มีปากมีเสียง ก้มหน้าทำงานที่แสนน่าเบื่อ เพื่อรอให้ถึงเวลากลางคืนที่จะได้จับคู่ชกกับใคร ตั๊นหน้ามันแรงๆ แล้วจินตนาการว่าสิ่งที่เขาสู้อยู่คือระบบทุนนิยมน่ารังเกียจ และหวังว่าตัวเองจะได้เป็นผู้ได้รับชัยชนะไปครอบครอง
มองในแง่นี้ Fight Club เป็นเพียงพื้นที่ให้ทุกคนได้ ‘ปลดปล่อย’ ความกดดัน ความเครียด และสัญชาตญาณดิบออกมาเพียงชั่วครู่เพื่อป้ายความผิดให้กับระบบที่ไม่อาจต่อกร โดยที่สุดท้ายก็ไม่อาจ ‘เปลี่ยนแปลง’ โครงสร้างที่กดทับพวกเขาไว้ได้อยู่ดี
ที่เจ็บปวดที่สุดคือฉากที่ไทเลอร์ผู้เป็นตัวแทนของความขบถ ต่อต้านทุนนิยมและวัตถุนิยม กับ มาร์ลา ซิงเกอร์ ตัวละครที่เปรียบเสมือน มะเร็ง ของระบบทุนนิยมที่คอยหลอกหลอนให้พระเอกนอนไม่หลับในตอนแรกกลับมาร่วมรักกันอย่างรุนแรงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงจุดสุดยอดนับครั้งไม่ถ้วน
การหลอมรวมเป็นหนึ่งระหว่าง ‘การต่อต้าน’ และ ‘เนื้อร้าย’ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบทุกอย่างพังราบเป็นหน้ากลอง
‘กระสุน’ นัดสุดท้ายที่ลั่นออกไปจึงเป็นได้ทั้งตัวแทนของการเริ่มต้นใหม่ หรือเป็นตัวแทนของการ ‘จำนน’ ต่อระบบที่ไม่อาจต่อต้าน และยอมรับว่าเป็นได้เพียงส่วนหนึ่งของมันเท่านั้น
ถึงแม้ว่าในหนังจะไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบที่พังลงไปต่อจากนั้น แต่เราเชื่อว่าสุดท้ายระบบทุนนิยมก็จะกลับมาแข็งแกร่งไม่ต่างไปจากเดิม หรืออาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ (แต่อย่างน้อยการตั้งชมรม Figth Club ขึ้นมาในหลายๆ ประเทศเพื่อให้ปลดปล่อยด้วย ‘ต่อสู้’ กันจริงๆ ก็นับว่าเป็นอิทธิพลดีๆ ที่หนังเรื่องนี้สร้างเอาไว้)
ส่วนชีวิตของเราและอีกหลายคนหลังจาก Fight Club จบลงไปแล้ว 20 ปีก็ไม่ต่างไปจากเดิมมากนัก เรายังหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาอัปเดตชีวิต ‘ดีๆ’ ของเพื่อนคนอื่นๆ พร่ำบ่นปัญหาที่ไม่อาจแก้ไข นั่งมองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกรุ่นใหม่ๆ ช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้ แล้วปลอบใจตัวเองด้วยการลงรูปติดแฮชแท็กว่า ‘ของมันต้องมี’
หรือถ้ามีเวลาว่างก็ปิดหน้า สร้างร่างอวตาร หาคู่ชกด้วยคีย์บอร์ดและความคิดคมๆ ในโซเชียลมีเดีย แล้วก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะโลกสอนให้เรารู้ว่าในบางครั้งชีวิตก็อนุญาตให้เราทำได้เพียงเท่านี้ ไม่ใช่ไปท้าต่อยตีกับใครในคลับใต้ดิน!
เนื้อเรื่องย่อ ชายหนุ่มพนักงานบริษัทประกันรถยนต์คนหนึ่งที่มองจากภายนอกดูเหมือนมีชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปแต่ใจลึกๆเขาเป็นคนมีปัญหาด้านทางจิตใจมานานโดยที่ไม่รู้ตัว พระเอกของเราผู้นี้ต้องไปบำบัดกับกลุ่มผู้มีปัญหาด้านจิตแบบเขา โดยที่ไม่รู้ว่าจะได้อะไรกลับมา หรือไม่สามารถปลดปล่อยความทุกข์ ความเบื่อหน่ายของชีวิตของเขาได้อย่างแท้จริง จนเมื่อเขาจำเป็นต้องออกเดินทางไปทำงานข้ามรัฐโดยเครื่องบินโดยสารเขาได้พบกับชายแปลกหน้าคนหนึ่งผู้ที่พลิกเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาลอย่าง ไทเลอร์ ชายสุดอาร์ตผู้อ้างตัวเป็นนายหน้าขายสบู่ ผู้ที่จะพาเขาไปปลดปล่อยทุกข์โดยการจัดตั้ง คลับการต่อสู้ใต้ดินผิดกฏหมายสุดเถื่อน
ภายใต้ชื่อ “ไฟท์ คลับ” ที่มีกฏภายในสุดแปลกประหลาดมากมาย เขาและไทเลอร์ตอนนี้กลายเป็นคู่หูเพื่อนซี้ที่นอกจากจะจัดตั้งคลับการต่อสู้แห่งนี้แล้ว พวกเขายังระดมพลคนมากมายไปปั่นป่วนเมือง ทำตัวเกเรป่วนเมืองสร้างปัญหาให้กับสังคาม โดยเรื่องมันเลยเถิดไปถึงการก่อคดีฆาตกรรมและชายหนุ่มธรรมดาหาเช้ากินค่ำคนนี้ก็เริ่มสับสนปั่นป่วนด้านจิตใจของตนเอง ตกลงว่าเขานั่นหลอนภาพพวกนี้ขึ้นมาเอง หรือ มันเป็นเรื่องจริงและเขาจะแก้ไข เรื่องวุ่นๆทั้งหมดได้อย่างไร ติดตามรับชมได้ที่ ดูหนัง
รีวิว Fight Club เนื้อหาส่วนหลังจากนี้จะมีการสปอย
ตัวละครที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ ไทเลอร์ เป็นตัวละครที่มีความลึกลับ เพราะไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร และมาจากไหน หาที่มาที่ไปไม่ได้ เป็นตัวละครที่มีความคิดบ้าดีเดือดโคตรๆ มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณแรงกล้า มีความคิดขบถต่อทุกๆสิ่งรอบตัว หล่อ เท่ ฉลาด แตกต่างจาก เอ็ดเวิด อย่างสิ้นเชิง เรียกได้ว่าเป็นแม่เหล็กคนละขั้วเลยก็ว่าได้ แต่ไอ้ความโฉดหลุดโลกของ พี่ไทเลอร์แกนี่แหละที่ค่อยๆ ทำให้เอ็ดเวิดค้นพบอะไรบางอย่างของตัวเอง ทำให้เขาลืมที่จะเข้ากลุ่มบำบัดไปเลย นั่นคือการถือกำเนิดขึ้นของ ไฟต์คลับ ขึ้นมา