รีวิว หนัง Joker เรียกได้ว่าเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จและกวาดรางวัลมาไม่น้อยสำหรับหนังภาพยนตร์Joker (2019) เวอร์ชันที่กำกับโดยทอดด์ฟิลลิปได้ทั้งรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากงานประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 92 ซึ่งล้วนเป็นรางวัลใหญ่ แม้จะมีกระแสหวาดกลัวว่าหนังจะจุดประกายการอยากก่อความรุนแรงในสังคมก็ตาม

หนังJokerเมื่อรัฐบีบให้คนตัวเล็กๆ เป็นอาชญากรหนังภาพยนตร์ Joker เล่าเรื่องราวของอาร์เธอร์เฟล็กนักแสดงตลกที่รับจ้างถือป้ายและแสดงโชว์เล็กๆตามโรงพยาบาล  เขาป่วยเป็นโรคทางจิตที่ทำให้เขาหัวเราะในสถานการณ์ที่ไม่ควรหัวเราะ  อาร์เธอร์อาศัยอยู่กับแม่ที่ชราและมีโรคประจำตัว และเข้ารับการรักษาจากบริการที่เป็นสวัสดิการสังคม  หนังดำเนินเรื่องโดยมีฉากหลังเป็นเมืองกอธแธม ที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม และความพึ่งพาไม่ได้ของรัฐ  อีกทั้งยังมีอัตราความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนสูง

ในตอนต้นของหนัง ภาพยนตร์ Joker อาร์เธอร์ได้ปืนมาจากเพื่อน และเขาใช้มันยิงคนตาย แต่นั่นกลับจุดกระแสประท้วงจากชนชั้นล่างที่ต้องการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมที่คนรวยได้รับอภิสิทธิ์ ส่วนคนจนต้องถูกกดหัวอยู่ร่ำไป เขากลายเป็นไอคอนที่เหล่าผู้ประท้วงแต่งหน้าหรือใส่หน้ากากเป็นตัวตลกเหมือนเขา อันที่จริงเขาไม่ได้ตั้งใจจะกลายเป็นอาชญากร แต่สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่บีบคั้นภาวะทางจิต รวมทั้งการถูกกลั่นแกล้งจากคนที่มีฐานะสูงกว่าได้บีบให้เขาทำเช่นนั้น

เมื่อคนจนไร้ทางสู้ ความรุนแรงจึงกลายมาเป็นคำตอบและอำนาจการต่อรองเดียวที่พวกเขามี เช่นที่ผู้ประท้วงคนอื่นๆ ทำ เมื่อรัฐไม่ได้ให้เครื่องมือพวกเขาต่อรอง แถมยังปิดปากพวกเขา พวกเขาจึงต้องออกมายังท้องถนนโดยแลกกับทุกสิ่งที่มี

รีวิว หนัง Joker

เรื่องย่อ 

อาร์เธอร์ เป็นชายคนหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับความโหดร้ายทารุณและสังคมที่เต็มไปด้วยการเหยียดหยาม เขาต้องเผชิญกับความอ้างว้างจนเปลี่ยนเขาจากที่เป็นคนอ่อนแอกลายเป็นคนโหดเหี้ยม เขารับจ้างแต่งชุดตัวตลกรายวัน จนกระทั่งคืนหนึ่งที่เขาพยายามจะแสดงตลกเดี่ยว แต่กลับพบว่าตัวเองต่างหากที่เป็นเรื่องตลกเขาไม่เป็นตัวของตัวเองเวลาที่มีผู้คนอยู่รายล้อม ซึ่งเห็นได้จากเสียงหัวเราะที่ควบคุมไม่ได้และดูไม่เหมาะสม

ยิ่งเขาพยายามควบคุมเท่าไหร่มันก็ยิ่งแสดงออกมามากขึ้น จนทำให้เขาแสดงความเยาะเย้ยและความรุนแรงออกมา อาร์เธอร์ทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลแม่ที่ไม่ค่อยแข็งแรง และไขว่คว้าตามหาคนที่เหมาะจะเป็นพ่อซึ่งเขาไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่นักธุรกิจมหาเศรษฐีโธมัสเวย์น ไปจนถึงพิธีกรรายการทีวีเมอร์เรย์แฟรงค์ลิน เขาพบว่าตัวเองอยู่ปลายทางระหว่างโลกแห่งความจริงกับความบ้าคลั่ง การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวกลายเป็นชนวนเหตุที่นำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงมากมาย

ดูหนังจบคุณจะจำชื่อเขาอย่างหลอนหัวอาร์เธอร์เฟล็ก AKA โจ๊กเกอร์ สิ่งหนึ่งที่หนังจากคอมิก ดีซี โดยค่ายวอร์นเนอร์ทำได้อย่างดีเสมอมานับตั้งแต่ไตรภาค Dark Knight ของคริสโตเฟอร์ โนแลนคือการเป็นหนังที่ดาร์กเข้มจริงจังทั้งความสมจริงและดราม่า การสร้างตัวละครที่มีมิติรายละเอียดและวิช่วลที่ตระการตาในยุคของแซ็กชไนเดอร์ ซึ่งด้วยการไล่ตามความสำเร็จและกดดันจากมาร์เวล ทำให้ยังทำยิ่งเป๋หนักจากการทอดทิ้งแนวทางการสร้างตัวละครมิติเชิงลึก ไปเป็นแอ็กชันผาดโผนผสมอารมณ์ขันสไตล์มาร์เวล

รีวิว หนัง Joker

ซึ่งงก้ไม่ค่อยขำเพราะสวนทางดราม่าที่ยังพยายามยึดไว้ด้วย เลยกลายเป็นการใส่ดราม่าแบบฉาบฉวยและพลอตที่ยัดเยียดให้เกิดดราม่าเสียแทน ที่ผู้ชมจะสมัครใจอิน แม้ในยุคของ Wonder Woman และ Aquaman จะเริ่มลงตัวมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังห่างไกลจากการเป็นดราม่าเข้มขึงที่เคยเป็นรากฐานของดีซีจริง ๆ

มาถึงตรงนี้ก็ต้องขออภัยในการที่ต้องเทียบกับทางมาร์เวล เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นความกล้าขนาดไหนของวอร์นเนอร์ที่อาจยอมทิ้งรายได้มหาศาลจากการทำตามมาร์เวลไปเพื่ออนุมัติสร้างหนังเรื่องนี้JOKER จึงเป็นการแสวงทางสู่ดราม่าจิตวิทยาแบบลงลึก ดิ่งจม ผสมเหล้าข้นปนยารักษาโรคประสาท ที่มีกลิ่นดินปืนคลุกละอองเลือดลอยคละคลุ้งในอากาศ ซึ่งเป็นสายทางหนังประกวดรางวัล เวทีที่ไม่น่าพลาดคงเป็นเวทีลูกโลกทองคำ

แต่สำหรับออสการ์ก็เรียกว่ามีลุ้นไม่น้อยทีเดียว ซึ่งจะว่าก็น่าเสียดายแทนแฟนหนังมาร์เวลที่ไม่สนใจในการทำหนังแนวคว้ารางวัลสาขาหนังยอดเยี่ยม ยิ่งความอ่อนไหวของดิสนีย์ที่ไม่ชอบเล่นประเด็นสุ่มเสี่ยง ขนาดเคยไล่ผู้กำกับอย่าง เจมส์ กันน์ ออกจากค่ายมาแล้วเพราะผลการกระทำในอดีตที่แทบไม่ควรเอามาเป็นประเด็นอีกเพราะแนวทางการสร้างของมาร์เวลก็เน้นรายได้ความนิยมมากกว่ารางวัลอยู่แล้ว จึงไม่มีวันคิดจะทำหนังสไตล์ Joker ได้สำเร็จแน่นอนดีไม่ดีทำแล้วจะเป๋จนเพี้ยนไปหมดด้วย นี่จึงต้องยอมรับในความกล้าของผู้บริหารของค่ายวอร์นเนอร์มาก ๆ ที่กล้าเสี่ยงเอาตัวละครดังมาทดลองกับแนวทางหนักหน่วงเช่นนี้

หนังสามารถคว้ารางวัลหนังยอดเยี่ยม สิงโตทองคำ) จากเทศกาลหนังเมืองเวนิสปีล่าสุด พร้อมการยืนปรบมือยาวนานของผู้ชมหลายนาที ซึ่งคงเป็นเพียงระฆังสัญญาณแรกในการลุยเวทีรางวัลใหญ่ในปีนี้ของหนังที่อาจตามรอยรุ่นพี่อย่าง The Shape of Water (2017) และ Roma (2018) ซึ่งล้วนเคยคว้ารางวัลสิงโตทองคำก่อนไปชนะรางวัลใหญ่ในเวทีออสการ์สำเร็จมาแล้วทั้งคู่ก็เป็นได้ ต้องยอมรับว่าก่อนดูหนังมีความแคลงใจ

และคิดไปล่วงหน้าว่าอาจไม่ชอบตัวหนังไปเลยก็ได้ แต่พอเข้าไปดูแล้วนั้นก็ต้องพูดโดยรวมว่า หนังประสบความสำเร็จอย่างมากในการพาเราจมดิ่งลงไปในตัวละครนำอย่าง อาร์เธอร์ เฟล็ก อย่างถอนตัวไม่ขึ้น เราจึงทั้งเข้าใจ ต่อต้าน เห็นใจ ขัดแย้ง อยากโอบกอดเขา และดุด่าเขาไปพร้อมกัน และเหนืออื่นใดมันคือประสบการณ์มหัศจรรย์ที่เราจะได้เห็น วาคีน ฟินิกส์   ลอกคราบทีละชั้นจนกลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดนาม โจ๊กเกอร์ ในที่สุด

 

นี่คือผลงานการกำกับของ ทอดด์ ฟิลลิปส์  ผู้กำกับชื่อดังที่สร้างชื่อตัวเองมาจากหนังแนวคอมเมดี้ไตรภาคอย่าง The Hangover นี่จึงเป็นการผันตัวมาทำหนังดราม่าหนักหน่วงจริงจัง โดยเฉพาะเป็นการนำคาแรกเตอร์จากคอมิกดังมาดัดแปลงครั้งแรกของเขาด้วย สิ่งที่ต้องชื่นชมผู้กำกับอย่างมากคือ วิสัยทัศน์ด้านการนำเสนอ ทั้งฉาก ภาพ วิช่วล ที่พยายามให้นึกถึงนิวยอร์กในยุค 1970 อันเป็นปีแห่งความสับสนวุ่นวาย เส็งเคร็ง กักขฬะ ผู้คนแสวงหาคุณค่าในความดีงาม ในตัวเอง ในตัวผู้อื่น

เป็นยุคแห่งการหลงทิศหลงทาง ทั้งสงครามเวียดนาม คดีวอร์เตอร์เกต สงครามเย็น ลัทธิคลั่งศาสนา การนำยุคที่ถูกต้องมาสู่การสร้างฉากหลังให้ตัวละครที่ถูกตัว คือความสำเร็จที่งดงามที่สุด ยังไม่รวมว่างานด้านภาพและวิช่วลต่าง ๆ ทำออกมาได้อย่างงดงามในความล่มสลาย งดงามในความรุนแรง และงดงามดั่งหัวใจเลวทรามใสซื่อของตัวละครนำทอดด์และสก็อตต์ซิลเวอร์  มือเขียนบทรางวัลออสการ์จากหนัง The Fighter (2010) เลือกนำจิตวิเคราะห์มาสู่ตัวละคร

และเขียนบทจากผิวแล้วเลาะเปลือกตัวละครลงทีละชั้นได้อย่างที่คนไม่ต้องเรียนจิตวิทยามากมายก็เข้าใจหัวจิตหัวใจอันน่าเวทนาของตัวละครได้ มีดที่เลาะคราบของตัวละครออกมีตั้งแต่ สังคมที่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบคนอ่อนแอ ความพิการทางกายและใจ ความถูกละเลยไม่แยแสจากทั้งคนและจากทั้งรัฐความเชื่ออันหลงผิด ความหวังอันจอมปลอม ความรักที่แท้เพียงการหักหลังทรยศ และคุณค่าความภูมิใจในตนเองที่ตกต่ำต้อยแดดิ้นยิ่งกว่าก้นบุหรี่ที่ถูกคายทิ้งแล้วเอาเท้าขยี้ซ้ำ มันคือการตกต่ำลงเรื่อง ๆ ของตัวละครไปพร้อมกันกับการสูญสลายความศรัทธาในความดีงามความถูกต้องใด ๆ ทั้งมวล

 

หนังสร้างตัวละครโจ๊กเกอร์บนโจทย์สำคัญที่ว่า เขาคือตัวละครที่ไร้ตัวตน ไม่มีอดีตที่ชัดเจนว่าคือใคร มีที่มาที่ไปเช่นใด เป็นสุญญากาศ เป็นความกลวงของสังคม เป็นความบ้าคลั่งไร้ทิศทาง และเป็นฮีโร่ของสังคมป่วย ๆ ที่พิทักษ์ความยุติธรรมอันเจ็บป่วยด้วยวิธีการอันเจ็บป่วยพร้อมกัน เหมือนทอดด์กับซิลเวอร์ถอดโจทย์จากคอมิกทุกเล่มไว้บนปลายทาง ก่อนเรียงร้อยสร้างสรรค์ระหว่างทางเพื่อบรรลุผลตอนท้าย จากเรื่องราวที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคยสู่ตอนจบที่แนบเนื้อเดียวกับตำนานในใจของผู้อ่านทุกคน

ความละเอียดของจิตวิเคราะห์ยังลงลึกไปในประเด็นความโหยหา พ่อ ของตัวละคร ที่พยายามเอาภาพพ่อในจินตนาการที่ไม่เคยได้พบเจอไปซ้อนทับกับไอดอลในชีวิตจริงทั้ง เมอร์เรย์ แฟลงคลินส์ โรเบิร์ต เดอ นีโร พิธีกรเจ้าของรายการทอล์กโชว์ชื่อดังที่อาร์เธอร์ดูมาแต่เด็ก ตลอดจน โทมัส เวย์น มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยอันจะทำให้ทุกข์ในความยากจนของอาร์เธอร์และแม่ปลิวไปได้เพียงแรงลมผิวปากของโทมัสเท่านั้น เพียงประเด็นเรื่องพ่อประเด็นเดียวเชื่อว่าก็มีคนวิเคราะห์กันได้ลึกได้ยาวเป็นบทความกันแล้วล่ะ นี่จึงเป็นความเจ๋งที่หนังเรื่องนี้ใส่ใจทุกเม็ดทุกซอกมุมของตัวละคร

และการเล่าเรื่องผ่านตัวละครนำทั้งเรื่องจึงประสบความสำเร็จ โดยไม่ต้องพึ่งสูตรบารมีของตัวละครอื่นมาให้แฟนต้องว้าว อย่างเช่นผลงานซูเปอร์ฮีโรครอสโอเวอร์เรื่องอื่น ๆ ต้องใช้เลยก็ตามและอีกสิ่งที่คงปฏิเสธได้ยากคือ นี่เป็นผลงานการแสดงที่ต้องจารึกโลกอีกครั้ง ของ วาคีน ฟีนิกส์  นักแสดงผู้เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากหนัง Walk the Line (2006)และ The Master (2012) รวมถึงเคยเข้าชิงสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

จาก Gladiator (2000) มาแล้ว นี่น่าจะเป็นอีกครั้งที่เขาน่าจะเข้าใกล้รางวัลนี้มากที่สุด เพราะโจ๊กเกอร์กลายเป็นบทที่ยากและลำบากในการแสดง เมื่อมันถูกตั้งมาตรฐานมาแล้วจากนักแสดงชั้นยอดในอดีตอย่างแจ๊กนิโคลสัน หรือมาร์กฮามิลล์  โดยเฉพาะที่ว่าการเป็นผลงานทุ่มสุดตัวครั้งสุดท้ายแห่งชีวิตของ ฮีธ เลดเจอร์  ด้วยแล้ว ต้องบอกว่าเป็นงานหินโคตร ขนาดว่านักแสดงที่ดีอย่างจาเรดเลโตที่เคยคว้าออสการ์มาแล้วก็ยังไม่ประสบความสำเร็จกับบทบาทนี้เท่าใด

แต่เชื่อมั้ยว่า วาคีน ฟินิกส์ เขาทำได้ แถมทำได้อย่างเปี่ยมเสน่ห์น่าขนลุก เขาค่อย ๆ กลายเป็นโจ๊กเกอร์ได้อย่างละเมียดมาก ๆ ใช่ เทคนิคคือเขาไม่ได้พยายามจะเป็นโจ๊กเกอร์แต่ต้น หากแต่เป็นคนธรรมดาที่มีความผิดปกติแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งทำให้เราเข้าใจและอินไปกับความใกล้เคียงมนุษย์ทั่วไปได้ จนสุดท้ายเขาค่อย ๆ กลืนยาที่เรียกว่าอุปสรรคและโชคชะตาลงไปในท้องทีละเม็ด ก่อนจะกลายร่างเป็นตัวละครวายร้ายที่โด่งดังที่สุดในโลกคนหนึ่งอย่างงดงาม

จุดสังเกตที่เราต้องทึ่งในรายละเอียดการถอดเทคนิคทางการแสดงของวาคีน ฟินิกส์ มีตั้งแต่สีหน้า ดวงตา กายภาพ ท่าทางต่าง ๆ โดยเฉพาะการเดิน การวิ่ง การใช้มือ การหัวเราะ คือทุกสัดส่วนการใช้กายและใจของเขามันถอดตัวละครออกมาเป็นชิ้น ๆ แล้วประกอบใหม่อยู่ซ้ำ ๆ จนอาร์เธอร์กลายเป็นโจ๊กเกอร์ได้ เชื่อว่าสายการแสดงมานั่งดูคงต้องจดเล็กเชอร์รายฉากกันเลยทีเดียว

 

นี่เป็นหนังที่เราอาจไม่ได้รู้สึกมีความสุขไปกับมัน ไม่ได้หัวเราะกับมัน ไม่ได้ตื่นตาตื่นใจระเบิดตูมตามเร้าใจ ไม่ใช่หนังฮีโรในกระแสใด ๆ มันอาจเป็นหนังของคนธรรมดาที่เจอวันแย่ ๆ และผิดเพี้ยนจนกลายเป็นขบถต่อสังคมอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ มันจึงเป็นหนังที่อิ่มในความรู้สึก อิ่มในสมองที่ต้องการบทเรียนรู้สำคัญผ่านหนัง หนังที่เรานั่งนิ่งอึ้งเมื่อจบ พลันเมื่อรู้สึกตัวก็อยากปรบมือให้มันยาว ๆ ยาวนานเท่าที่จะทำได้ หนังดีที่ห้ามพลาด กดที่รูปด้านล่างไปดู ก่อนถูกสปอยล์

รีวิว หนัง Joker

รีวิว หนัง Joker จุดประกายความเห็นใจอาชญากร

หนัง ภาพยนตร์ Joker ต่างจากหนังเรื่องอื่นๆที่มีโจ๊กเกอร์เป็นตัวร้าย หนังเรื่องนี้กลับฉายภาพให้เห็นที่มาที่ไปของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ก่อนที่เขาจะกลายเป็นอาชญากร คู่ปรับตลอดกาลของฮีโร่อย่างแบทแมน หนังทำให้เรามีมุมมองที่เห็นอกเห็นใจ และร่วมทุกข์ไปกับอาร์เธอร์ที่อยู่ภายใต้สังคมที่ไม่เป็นธรรมสำหรับตัวเขา ผู้ชม ซึ่งเป็นชนชั้นกลางโดยส่วนใหญ่ สามารถมีความรู้สึกร่วมกับอาร์เธอร์ได้ไม่ยาก เพราะอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมที่ทำให้ขยันเท่าไหร่ก็ไม่สามารถร่ำรวยขึ้นมาง่ายๆ หรือยังต้องดิ้นรนหมุนเงินแบบเดือนชนเดือน

ในหนัง ภาพยนตร์​ Joker มุมมองที่เห็นอกเห็นใจคนอย่างอาร์เธอร์ยังสะท้อนความอยากบางอย่างของผู้ชม นั่นคือ การอยากใช้ความรุนแรงท้าทายอำนาจรัฐให้ได้แบบที่โจ๊กเกอร์ทำ ซึ่งเป็นความต้องการจากสัญชาตญาณดิบที่ถูกกล่อมเกลาหรือกดทับไว้ภายใต้กฎระเบียบของส้งคม ผู้ชมจำนวนหนึ่งจึงอาจรู้สึกสะใจไม่น้อยที่โจ๊กเกอร์พกปืนเข้าไปยิงคนในระหว่างออกอากาศสด หรือเต้นรำอย่างบ้าคลั่งท่ามกลางการประท้วงที่ดุเดือด

คนส่วนใหญ่ใฝ่หารัฐสวัสดิการ

ตอนครึ่งหลังของหนัง ภาพยนตร์ Joker ยิ่งทำให้เห็นการที่สังคมทอดทิ้งคนตัวเล็กๆ เมื่อสวัสดิการที่จ่ายยาให้กับอาร์เธอร์ถูกยกเลิกแล้วหมุนเงินไปใช้กับอย่างอื่น รัฐสวัสดิการเป็นสิ่งที่คนในประเทศกำลังพัฒนา หรือแม้กระทั่งที่พัฒนาแล้วใฝ่หา เพราะผู้คนไม่ได้มีกำลังพอที่จะดูแลสุขภาพหรือสวัสดิการของตัวเองได้อย่างดีพอ หากพวกเขาไม่ใช่ชนชั้นสูง หนัง ภาพยนตร์ Joker จึงสะท้อนความไม่เป็นธรรมในการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนหลายต่อหลายรุ่นร้องเรียนมาโดยตลอด และเป็นหนังสะท้อนสังคมที่ทำให้เราฉุกคิดได้ดีว่า รัฐที่เราอยู่ให้สวัสดิการที่ดีพอ คุ้มค่ากับเงินภาษีที่เราจ่ายไปแล้วหรือยัง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *